ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นับเป็นงานท้าทายสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองยิ่งขึ้นไปอีก เพราะต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนของลูกในทุกด้าน จนหลายคนอาจจะรู้สึกเหมือนกลับไปเป็นนักเรียนเองอีกครั้ง

หลายท่านต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับประสบการณ์การเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมกับนักเรียน ต้องเรียนรู้ว่าจะช่วยส่งเสริมลูกให้เรียนออนไลน์อย่างไร ต้องจัดตารางทำงานตัวเองควบคู่กับตารางเรียนของลูก และยังต้องจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในบ้านให้เหมาะสมกับทุกคนในบ้าน

ทั้งหมดนี้ อาจดูเป็นเรื่องที่หนักหนาสำหรับบางบ้านเหมือนกัน

โรงเรียนและครูส่วนใหญ่ต้องทำงานด้วยความทุ่มเท เพื่อสร้างการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ มีการโต้ตอบระหว่างกัน อาจผ่านวีดีโอ รวมถึงจัดสรรงานที่นักเรียนสามารถทำได้เองที่บ้าน

Experiential Learning (การเรียนรู้จากประสบการณ์) คืออะไร?

การเรียนรู้แบบ Experiential Learning โดยทั่วไปจะเป็นการเชื่อมโยงบทเรียนจากในห้องเรียนของลูกกับชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นส่ิงสำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่ง ที่เดิมมีครูเป็นผู้ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เช่น การทัศนศึกษา ที่ไม่ใช่แค่การพานักเรียนเที่ยวนอกสถานที่ แต่ได้เข้าเรียนรู้ศึกษาทักษะในการใช้ชีวิต การทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะดึงศักยภาพของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงทำงานอย่างไร ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง ฝึกให้มีความรับผิดชอบรูปแบบต่างๆ เช่น การเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยง การสร้างผลงานศิลปะ การแสดงออกทางด้านการแสดงหรือการเต้น หรือแม้กระทั่งการปลูกต้นไม้และดูแลสวน

โชคดีที่พ่อแม่เองสามารถจำลองการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Experiential Learning ที่บ้านให้ลูกได้ โดยไม่ต้องกลายร่างเป็นครูหรือมีแรงกดดันในการสร้างกิจกรรมหลากหลายแบบที่โรงเรียนทำ จากการให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการเรียนรู้แบบ Experiential Learning นี้คือ เด็กทำกิจกรรมและเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

แนวทางและกฏเกณฑ์ในการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้แบบ Experiential Learning

  1. ด้วยการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะเน้นที่ประสบการณ์และได้ลงมือทำจริง จึงไม่ด้วยการเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะเน้นที่ประสบการณ์และได้ลงมือทำจริง จึงไม่มีแนวทางที่ผิดหรือถูก
  2. เด็กๆ สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนรู้และเกิดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้เด็กมองอย่างพิจารณา ฟังด้วยความสงสัย เกิดการตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตัวเองจากสัมผัสทั้งห้าได้ ภายใต้การดูแลเรื่องความปลอดภัยจากพ่อแม่
  3. เพียงแค่ให้ลูกได้มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในสิ่งที่คุณทำในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นช่วยคุณทำงานบ้าน ช่วยดูแลสัตว์เลี้ยง หรือช่วยคุณเตรียมอาหาร
  4. กิจกรรมเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกวัน เพียงแค่ใช้โอกาสในการทำกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงตัวลูกกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเขา หรือนำสิ่งที่ได้เรียนจากออนไลน์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมแบบ  Experiential Learning สามารถหาได้รอบบ้าน เช่น กรรไกร ดินสอสี กาวแท่ง สีน้ำ แม้กระทั่งกล่อง กระป๋อง แกนกระดาษชำระ หลอดดูด เพื่อความหลากหลายในการใช้ไอเดียสร้างสรรค์

5 ไอเดียในการสร้างการเรียนรู้แบบ Experiential Learning

1. ไอเดียสร้างสรรค์ ห้าสัมผัส (สำหรับเด็กเล็ก)

ด้วยกล่องที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยในการเสริมสร้างการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า ของเด็กๆ

เรียนรู้จากการสัมผัสในกล่องที่บรรจุหิน เรียนรู้จากการรับรสในกล่องที่บรรจุสปาเก็ตตี้ เรียนรู้จากการดมกลิ่นในกล่องที่บรรจุดิน เรียนรู้จากการมองเห็นในกล่องที่บรรจุข้าวหลากสี หลากหลายไอเดียหรือมากกว่านั้นที่คุณสร้างสรรค์ให้เด็กๆ ได้กระตุ้นประสาทสัมผัสรอบตัวจากโลกแห่งความจริงรอบตัวเขา

กิจกรรมที่ใช้กระตุ้นประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนวัยก่อนเข้าเรียน จะเสริมสร้างความกล้าอย่างมีทักษะและเพิ่มความสนุกในการค้นพบมากขึ้น

ไอเดียสร้างสรรค์ ห้าสัมผัส (สำหรับเด็กอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป)

กิจกรรมนี้ ทำได้ง่ายๆสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปี โดยจำกัดประสาทการมองเห็น ด้วยผ้าปิดตา

เริ่มด้วยการจัดเตรียมอาหารหลายชนิดที่มีอยู่ที่บ้าน มีรสชาติหลากหลาย ให้เด็กๆ ได้รับรู้ความแตกต่างในรสชาติ เช่น ช็อคโกแลต หัวหอม มะนาว แอปเปิล เห็ด

โดยให้ลูกของท่านใส่ผ้าปิดตา แล้วทายว่าอาหารที่ได้ทานโดยไม่ได้เห็นว่าคืออะไร

กระตุ้นให้น้องใช้ประสาทส่วนอื่นทีละส่วนแล้วลองทาย ลองจับอาหาร ลองดม และลองชิม แล้วที่สุด ให้เฉลยโดยการเปิดผ้าปิดตา

คำเตือน – เมื่อลูกเกิดความสนุกขึ้นมา ก็อาจจะอยากให้พ่อแม่มาเล่นด้วย คุณอาจต้องเตรียมผ้าปิดตาตัวเอง หรือเตรียมโดนลูกแกล้งด้วยหอมใหญ่!

ลิงค์นี้ มีกิจกรรมอีกมากมาย ไอเดียสร้างสรรค์ กล่องประสาทสัมผัส: Sensory Bins – Ideas and How to Get Started

2. อ่านเรื่องเก่า เล่าเรื่องใหม่

สำหรับเด็กเล็ก พ่อแม่สามารถให้น้องอ่านนิทานพร้อมกันกับพ่อแม่ได้เลย สำหรับน้องๆ ที่โตขึ้นมาหน่อย ก็สามารถให้น้องๆ อ่านเองได้ หรืออาจนำเรื่องราวมาจากหนังสือที่โรงเรียนใช้ในการเรียนออนไลน์ได้ด้วย

คุณสามารถส่งเสริมให้ลูก เล่าเรื่องราวที่เขาได้อ่านมา หรือเอาเรื่องเก่าแต่งเป็นเรื่องใหม่ หรืออาจใช้ตุ๊กตากับของเล่นเป็นตัวประกอบในการเล่าเรื่องให้สนุกขึ้น

วีดีโอนี้ เป็นแนวทางที่อาจช่วยได้: Retelling a Story | 3 RETELLING STRATEGIES

3. ปลูกต้นไม้

ลองให้น้องๆ ปลูกต้นไม้เล็กๆ จากเมล็ดพันธุ์พืช ในสวนที่บ้าน กระถางข้างหน้าต่าง หรือถาดไข่ไก่ เพื่อให้น้องๆได้เฝ้าดูการเจริญเติบโตของมัน

เมล็ดถั่วเขียวจะเจริญเติบโตเป็นถั่วงอกได้ภายใน 3 วัน และตอนท้ายคุณอาจจะให้เด็กๆ ได้ลิ้มรสในอาหารจานโปรดด้วยเป็นการเพิ่มอีกหนึ่งประสบการณ์ให้แก่ลูก

ลิ้งค์นี้เป็นแนวทางการริเริ่มทำสวนเล็กๆ ในบ้านของคุณเอง: How to Grow Mung Bean Sprouts in Mason Jar, Cheese Cloth, and Plastic Bottle

หากต้องการทำกิจกรรมที่ใช้เวลานานกว่านั้น ก็สามารถให้เด็กโตลองปลูกต้นทานตะวันได้ กิจกรรมเช่นนี้สามารถช่วยกันปลูกได้ทั้งครอบครัว เริ่มจากการเพาะเมล็ดจนถึงการเจริญเติบโต และวัดขนาดการเจริญเติบโต แล้วเตรียมลุ้นกันว่าใครจะมีต้นที่สูงที่สุด และใครจะมีดอกใหญ่ที่สุด

4. ทำอาหารกันเถอะ

กิจกรรมนี้ทำได้หลากหลาย อาจจะง่ายตั้งแต่การต้มไข่ ไปจนถึงทำคัพเค้กหรือแซนวิชที่คุณมีวัตถุดิบในการทำอยู่แล้วที่บ้าน

นอกจากนี้ น้องๆ ยังสามารถช่วยคิดเมนูที่ชอบ และอยากทำด้วยกันกับพ่อแม่ อาจใช้สูตรจากตำราอาหารหรือค้นสูตรจากออนไลน์ ช่วยกันจัดเตรียมวัตถุดิบ แล้วลงมือทำอาหารจากสูตรที่เด็กๆ หามา

วีดีโอนี้ มีตัวเลือกมากมายให้น้องๆ เลือก: Meals Kids can COOK!

5. เดินเล่นนอกบ้าน

ลองออกไปเจออากาศบริสุทธิ์นอกบ้านบ้าง อาจเป็นแค่ในหมู่บ้าน หรือสวนใกล้บ้าน และในขณะที่เดินเล่นกันอยู่ ก็ให้น้องๆ สำรวจดอกไม้ ใบหญ้า หรือสิ่งอื่นๆ ที่เห็นรอบตัว เมื่อกลับมาบ้าน ก็อาจจะสร้างสรรค์งานศิลปะภาพปะติดจากสิ่งที่เด็กๆ เก็บมา

รับชมวีดีโอนี้ เพื่อไอเดียสร้างศิลปะภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ. How to make a collage with natural materials – Recycling artwork

หลังจากที่น้องๆ เสร็จจากเรียนออนไลน์ ลองปิดจอ แล้วมาลองทำตามไอเดียข้างต้นกัน เชื่อไหมว่าคุณก็สามารถกระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์ ต่อมความอยากรู้ ให้ลูกได้ค้นคว้า ตั้งคำถาม และท้ายสุดให้ลูกเรียนรู้ผ่านการเล่นได้ด้วยตัวเอง!

Previous articleHow to Make the Most of World Kindness Day
Next articleAbout